วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

ยุคศิวิไลย์พุทธกาลที่ 1






 
ยุคศิวิไลย์พุทธกาลที่ 1  



 
                  พระธรรมคำสอนของพระเจ้ากกุสันโธได้ อธิบายความเป็นมาของโลกและสรรพชีวิตทั้งหลายโดยเฉพาะมนุษย์ที่กำลังประหัตประหารกัน ไขข้อข้องใจ ความหลงเชื่อว่า    เทพเทวดาแต่ละชนเผ่าของพวกตนยิ่งใหญ่      และมีอำนาจสูงสุดสามารถจะช่วยให้มนุษย์ทุกคนได้รับทุกสิ่งที่ต้องการเพียงภาวนา อ้อนวอนด้วยความศรัทธา และตอบปัญหาทั่วทั้งจักรวาล  พร้อมกับวิธีการตรวจสอบความรู้นั้นได้ด้วยตนเองว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร

เส้นเดินทางของมนุษย์มีวิถีวงจรเป็นวงกลมตามจิตวิญญาณ ที่พาร่างกายและสังขารท่องเที่ยวไปเหมือนไร้จุดหมาย แต่เมื่อได้สักระยะหนึ่งและเพียงครั้งเดียว   ธรรมจะจัดสรรให้พบกับผู้เป็นสรรพภัญญู ตรัสรู้ คือรู้แจ้งเห็นจริงทุกประการ  และบอกมนุษย์ทั้งหลายว่าการเกิดมาของมวลสรรพสัตว์นั้นล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่มีอะไรแน่นอน    ทุกอย่างเป็นไปเพราะจิตดวงเดียวทำให้คิด  ทำให้เป็นทุกอย่าง  หยุดที่ความคิดคือหยุดทุกอย่าง  แม้วงโคจรของชีวิตก็ยุติถาวร และเพียงเริ่มต้นจากตัวเราเป็นหลัก   มีใจคิดไปลบล้างสัญญาทั้งหลายในจิตวิญญาณเท่านั้น นอกนั้นเป็นเพียงผู้ช่วย  ซึ่งต้องฟังประธานคือใจของเราซึ่งมีด้วยกันทุกคนเพียงเท่านี้ก็สามารถเห็นความจริงได้หมด   และเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าได้

เมื่อศาสนาได้เกิดขึ้นแล้วเป็นครั้งแรกบนโลก ทำให้สังคมมนุษย์ยุคนั้นยุติความเชื่อและเข้าใจแบบเดิมที่ตกทอดกันมาชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทุกแห่งหนที่มนุษย์รวมกลุ่มเป็นสังคม มีประเทศต่างก็มีโอกาศรับเอาธรรมคำสอนไปปฏิบัติตาม  และบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์กัน และบรรลุตามลำดับ    เป็นขั้นกลางและขั้นต้น      คอยเป็นระดับชั้นสืบสานต่อให้คนรุ่นหลังเป็นทอด ๆ ไม่ขาดสาย

เพราะธรรมของพระพุทธเจ้ามีความละเอียดลึกซึ้งจะเข้าใจง่ายหรือยากเป็นไปตามระดับความรับรู้ ทุกคนมีสภาวธรรมแตกต่างกัน ไม่สามารถจะสอนให้เข้าใจได้พร้อมกันทีเดียว ความสามารถของผู้ถ่ายทอดและผู้รับฟังก็มีความสำคัญเป็นปัจจัยหนึ่งในการจะเข้าถึงธรรมหรือไม่

ศาสนสถานเช่น วัด วิหาร โบสถ์ ศาลา สถูปเจดีย์ ถูกสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กับศิลปการแสดงเกี่ยวกับประวัติเรื่องราวคำสอน   มีความสวยงามหลากหลายรูปทรง มีแง่มุมทางความคิด     ตามความรู้สึกเข้าใจของนายช่างแต่ละคน    เพื่อสื่อสะท้อนในทิศทางเดียวกัน เป็นกระแสความตื่นตัวของผู้คนหลังจากมีความสงบสุขเกิดขึ้นแล้วในหมู่มวลมนุษย์แทนการคิดค้นสร้างอาวุธคอยประหารกัน กลับมาแข่งขันสรรสร้างผลงานทางความคิด  เป็นวรรณกรรมและศิลปทางวัฒนธรรม  ความเจริญทางด้านวัตถุที่ก้าวล้ำนำหน้าในบางกลุ่มประเทศหยุดชะลอลง กระแสอารมณ์ของผู้คนในแผ่นดินที่มีเพียง 1 ใน 8 ส่วนของโลกเท่านั้น คลั่งใคร้กับความรู้ใหม่จึงทำให้เกิดมี



            -พระธรรมคำสอน ถูกนักปราชญ์ประพันธ์เป็นร้อยแก้วร้อยกรองใช้

                   ร้องยกย่องสรรเสริญพระองค์ที่มีบุญคุณต่อมนุษย์

            -พระธรรมคำสอน ถูกนำมาแต่งเป็นบทสวดมนต์ไว้ท่องเพื่อให้เกิด

            ความทรงจำและเป็นการบันทึกในจิตวิญญาณของมนุษย์อย่างถาวร



ยุคศีลธรรมเฟื่องฟูในสังคมมนุษย์อยู่นานเท่าใดไม่ได้บอกไว้แต่ประมาณว่าหลายชั่วอายุคน    ความอุดมสมบูรณ์อยู่ดีกินดีเกิดขึ้นทุกชนเผ่า      เพราะผู้คนประพฤติดี  ทำดี  แต่ขณะเดียวกันก็เพาะบ่มความอ่อนแอให้เกิดขึ้น   คนรุ่นหลังได้รับความสะดวกสบาย  บรรพบุรุษจัดการทุกอย่างให้จึงขาดแรงจูงใจไม่มีความกระตือรือร้น จนเกิดความประมาทและอวดดีแทน

ศีลธรรมเริ่มเสื่อมถอย จนกระทั่งหมดไปโดยเฉพาะในเผ่าประเทศแหล่งกำเนิดของศาสนา แต่กลับมาเจริญงอกงามและรุ่งเรือง ณ.ดินแดนสุวรรณภูมิแทน ส่วนในอาณาจักภูมิภาคอื่น ชนเผ่าส่วนน้อยด้อยพัฒนาที่เคยถูกเอาเปรียบกดขี่ข่มเหง เกิดช่องว่างมีโอกาศรวมตัวกัน จนเข้มแข็งสามารถต่อสู้ปลดปล่อยตนเองเป็นอิสระ บางแห่งมีความเข็มข้นและรุนแรงมากถึงขั้นล้มล้างขับไล่กันจนต้องแสวงหาดินแดนที่อยู่ใหม่แยกออกไปเริ่มต้นสร้างอาณาจักรต้นใหม่ขึ้นมาอีก ความเจริญทางด้านวัตถุได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรีบเร่งจากความจำเป็นเฉพาะหน้าของคนรุ่นใหม่ ๆ เกิดแนวทางทฤษฏีที่สร้างขวัญกำลังใจเพื่อความอยู่รอด ทั้งการต่อสู้กับทั้งธรรมชาติและศัตรูที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน  สภาพแวดล้อมสังคมที่พัฒนาเปลี่ยนไป มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น เกิดรูปธรรมและสมมุติใหม่ เริ่มอธิบายตีความขัดแย้งกันมากตามทำให้เกิดค่ายหรือสำนัก บางสำนักมีผู้นำเป็นที่พึ่งของคนกำลังเดือดร้อน และสามารถช่วยแก้ปัญหาได้เป็นกลุ่มเป็นก้อนจะกลายเป็นผู้นำธรรมชาติ คำพูดของเขาเหมือนกฏหมายและศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนเกรงกลัวยกย่อง คำชี้นำและบอกกล่าวไม่ต้องอธิบายก็เป็นที่ยอมรับกลายเป็นคำสอนของผู้นำซึ่งอ้างแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกิดเป็นลัทธินิกาย แทนศาสนานับแต่นั้นมา

เมืองทองเป็นกลุ่มประเทศในสุวรรณภูมิที่มีความขัดแย้งในสังคมไม่รุนแรง  มีความสงบ  รักษาความสมดุลระหว่างวัตถุกับศีลธรรมให้ควบคู่เท่าเทียมกันดี  แต่กลุ่มประเทศที่มีถิ่นอาศัยอยู่ใจกลางทวีปผืนแผ่นดินใหญ่  วัตถุจะเจริญกว่าศีลธรรม  ทำให้ต่างต้องพึ่งพาอาศัยถ่ายทอดความรู้กันอยู่บ่อย ๆ และบางโอกาศเป็นการมาปกป้องรักษาไม่ให้ศัตรูมารุกรานย่ำยีทำลายได้ เพราะมีโคตรวิญญาณบรรพบุรุษเดียวกันเพียงแยกครอบครัวออกไปหาที่ตั้งบ้านใหม่ การไปมาหาสู่ติดต่อค้าขายจึงมีอยู่ตลอดเวลาตามระบบของจิตวิญญาณ

ยุคกาลศาสนา







 

ยุคกาลศาสนา

 
พระเจ้ากกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า




เมื่อกาลอายุของมนุษย์ลดลงมาถึง 4 หมื่นปี ผู้คนทำร้ายซึ่งกันและกันมีมากขึ้น ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ แต่ในความเป็นจริงมีสาเหตุใหญ่สองประการคือ เรื่องการทำมาหากิน และความเชื่อถือในลัทธินิกาย     เผ่าที่มีพลเมืองมากรวมกันเป็นปึกแผ่นเข้มแข็ง   สามารถเป็นนครหรือรัฐบริหารปกครองตนเอง  มีระเบียบวินัยสร้างวัฒนธรรมประเพณี ทำมาค้าขายเปิดความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันทั้งระดับผู้นำและประชาชน เมืองใดมีพลเมืองมากที่ดินทำกินอุดมสมบูรณ์มีผู้นำที่เข้มแข็งก็ถูกยกให้เป็นประธานหรือประมุขของแคว้น
มีการพัฒนาค้นพบการทำเครื่องมือเครื่องใช้เป็นโลหะเช่น ตะกั่ว เหล็ก ทอง เงิน ทดแทนของเดิมที่เป็นหิน ไม้และเครื่องปั้นดินเผา ต่อมาจึงหลอมรวมเป็นเครื่องมือ ภาชนะเครื่องใช้ประจำวันในการทำมาหากิน และทำเป็นอาวุธทำลายประหัตประหารกันอย่างมีประสิทธิภาพ
มีการสร้างอักษร  สมมุติเครื่องหมายตัวเลข  ใช้สื่อสารแทนคำพูด เขียนบันทึกข้อตกลง บัญญัติกฏหมายระเบียบข้อบังคับ กำหนดพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษหรือเทพเทวดาประจำเมือง ประเทศและแว่นแคว้น จัดลำดับความสำคัญของจิตวิญญาณเช่นเดียวกับระดับชั้นการปกครองของมนุษย์
บรรดาสิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความเข้าใจผิด หลงทาง สืบคำสอนของบรรพบุรุษที่พยายามจะสื่อให้รู้เริ่มต้นความเป็นมาก่อนจะเป็นมนุษย์  เนื่องด้วยกาลเวลาที่แสนยาวนาน ธรรมชาติได้ครอบงำบดบัง     เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างโดยเฉพาะที่สำคัญคือความรู้สำนึกคิด  มนุษย์มิได้มีเพียงแต่การกินและสืบพันธุ์เท่านั้นอีกแล้ว การอยู่กันเป็นหมู่ใหญ่ ทำให้ต้องมีการจัดระเบียบแบบแผนของสังคม แบ่งงานแยกหน้าที่     เกิดชนชั้น     มีวรรณะและลาภยศ สรรเสริญก็งอกเกิด  และก็ยิ่งทำให้ความบ้าระห่ำ แสวงหาเป็นไปอย่างรุนแรง
มนุษย์ไม่ได้ว่างเว้นจากการทำสงครามล้มล้างกันเพื่ออำนาจ และกลายเป็นกีฬาอย่างหนึ่งของบรรดาผู้นำที่คิดแต่เรื่องเกียรติยศและคำยกย่องสรรเสริญที่จะนำมาทุกอย่างตามต้องการ
นักพรต    ฤาษี    นักบวช    หัวหน้าสำนักลัทธิทั้งหลาย     ต่างนำอภิญญาความรู้เหนือมนุษย์   ไปใช้ในทางที่ไม่ถูก     มีเรื่องลาภยศสรรเสริญมาเกี่ยวข้องเป็นผลจากการฝึกจิตจนเกิดสมาธิและเป็นฌาณระดับต่าง ๆ ของพวกเขา     ที่มีแรงจูงใจเริ่มต้นเพื่อแก้ปัญหาและทางออกของสังคมที่มีแต่ความวุ่นวายเดือดร้อน  โดยเฉพาะกลุ่มพวกผู้พ่ายแพ้ตกเป็นทาสหรือเชลย    ถูกทรมานทุกข์แสนสาหัส ได้แต่เฝ้าอ้อนวอนขอความเมตตาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวดาประจำเมืองช่วยเหลือ  เมื่อความช่วยเหลือสำเร็จก็นำไปสู่การอวดอ้างความสำคัญ ความยิ่งใหญ่เหนือกว่า เก่งกว่า เหยียดหยันเยาะเย้ยเปรียบเทียบ กลับทำให้สังคมมนุษย์แบ่งเป็นกลุ่ม มีความฮึกเหิมหาญกล้า         ทำสงครามมุ่งทำลายกันต่อไปไม่สิ้นสุด
ณ. เวลานั้น  สถานที่ของอาภัสสรเทพพรหมลงมาเกิดเป็นโคตรตระกูลคนไทยคู่แรกที่เป็นนายสรวงนางสางและคู่อื่น ๆ คือ บริเวณจังหวัดเพชรบุรีในเวลานี้  และบรรดาลูกหลานเหลนโหลนได้แพร่ขยายไปสมสู่เสพย์สมกับลูกหลานของต้นมนุษย์ด้วยกันของเหล่าบรรดาอาภัสสรเทพอื่น ๆ อุบัติเกิดทั่วพื้นที่ดินที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ  ตั้งแต่ยุคชาดกจนถึงยุคพระโพธิ์สัตว์  กาลเวลาที่ยาวนานจนนับไม่ถ้วน  ผู้คนที่มีอายุยืนยาวไม่มีวันตาย  ได้แพร่กระจายไปทุกแห่งหนที่มีพื้นดิน  มีการรวมกลุ่มรวมเผ่า  ตั้งบ้านสร้างเมือง  เป็นรัฐ  เป็นนคร  มณฑล ประเทศและแคว้น  จนกระทั่งมนุษย์กำหนดอายุวันตาย  และเหลือยาวนานที่สุดได้  4  หมื่นปี  บางส่วนขึ้นไปทางเหนือเป็นบริเวณประเทศที่เรียกว่าประเทศจีนและบางส่วนไปทางทิศตะวันตกที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน 
ในสมัยนั้นดินแดนที่อยู่ของต้นคนไทย ถูกเรียกว่า  ทอง หรือสุวรรณทวีปเหมือนกัน  เป็นตำนานเล่าขานของพุทธประวัติที่พระพุทธโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า  เมื่อครั้งตรัสรู้ได้ตรัสเล่าให้พระสาลีบุตร  อัครสาวกฟังถึงความเป็นมาในอดีตปฐมกาล   และทรงพยากรณ์ถึงกาลข้างหน้าผู้ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปจะเป็นใคร  และเคยสร้างบารมีอันใดมาบ้างในสมัยกาลพระพุทธเจ้าองค์ก่อน
จึงรู้ว่าเมืองทองเป็นเมืองหลวง มีพระเจ้ามหาปนาทบรมจักรพรรดิ์เป็นกษัตริย์ปกครอง  เป็นเจ้าเมืองมีชื่อเดิมว่า พ่อขุนยอดแก้วฟ้าไทยหรือเมืองสรวงเก่านั่นเอง
โสฬสนคร คือ  เมืองที่พระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาเป็นองค์ปฐมแห่งภัททกัปป์  เป็นเมืองหนึ่งใน  16  เมืองของแคว้นชมพูทวีปหรือมัชณิมประเทศ ที่ใช้เป็นชื่อเรียกกันในสมัยนั้น
มัชณิมประเทศเป็นศูนย์กลางของความเจริญทุก ๆ ด้าน  มีความหลากหลายของประเพณีวัฒนธรรม  ของชนเผ่ากลุ่มต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก  อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวมที่หลายชาติพันธุ์แวะเวียนผ่านมาหาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า  เพราะมีเส้นทางการคมนาคมเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นได้รอบทิศทางสะดวกสบาย  ทำให้สังคมเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่สมบูรณ์  มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตเจ้าสำนักลัทธิ  นักพรตนักบวช  มีพ่อค้าที่ร่ำรวยมหาศาลและคนยากจนจำนวนมาก  มีพระมหากษัตริย์ผู้นำเรื่องอำนาจด้วยคุณธรรมและกองทหารที่เข้มแข็ง  เป็นแบบอย่างของสังคมมนุษย์รูปแบบหนึ่งที่ธรรมชาติจัดสรรขึ้นมา  ให้ผู้รู้ได้เห็นและยกเป็นตัวอย่างประกอบเปรียบเทียบระหว่างคนฉลาดที่สุดกับคนโง่ที่สุด  รวยที่สุดกับจนที่สุด  เข้มแข็งที่สุดกับอ่อนแอที่สุด  ซึ่งเป็นความแตกต่างที่กำลังรอการแก้ไขและคำอธิบายมากที่สุด 
พระองค์ทรงเป็นพระโอรสในเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ปกครองเมืองโสพัสมหานคร  และอยู่ครองเรือนก่อนจะเสด็จออกพระราชวังเที่ยวแสวงหาความเป็นไปของมนุษย์และโลก  (มหาภิเนกษกรม)   ได้ศึกษาจากเจ้าสำนักลัทธินิกายต่าง ๆ มากมาย  แต่ไม่มีอาจารย์สำนักใดสามารถตอบคำถามหรือแนะนำได้อีกต่อไป  จึงหลบหนีไปทำความเพียรอยู่เพียงลำพัง  จนในที่สุดก็บรรลุธรรมตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าโดยพระองค์เอง  หลังจากนั้นเสด็จย้อนกลับไปโปรดเทศนาสั่งสอนบรรดาเจ้าสำนักที่เคยเป็นครูบาอาจารย์   จนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก่อน  จึงได้เสร็จกลับคืนพระมหาโสพัสนครโปรดพระราชบิดามารดาคนในครอบครัวและคนในเชื้อพระวงศ์เป็นลำดับต่อมา
ก่อนที่พระเจ้ากกุสันโธ  จะทรงทอดพระญาณตรวจโลกเพื่อไปโปรดสัตว์โลกทั่วผืนแผ่นดินอยู่นั้น  พระเจ้ามหาปนาทบรมจักรพรรดิ์แห่งเมืองสรวงหรือเมืองทองทราบข่าวการอุบัติขึ้นของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้บนโลกมนุษย์แล้วและยังประทับโปรดสัตว์อยู่โสฬสมหานคร  จึงเสด็จเดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้ารับฟังเทศนา  หลังจากจบการแสดงธรรมของพระพุทธองค์ได้บรรลุธรรมระดับหนึ่งจึงตรัสบอกแก่เสนาอำมาต์ว่าท่านจะขอบวชในพระศาสนาไม่ขอเป็นกษัตริย์อีกต่อไปแล้ว ขอให้กลับไปจัดการ สถาปนารัชทายาทสืบราชสมบัติแทน ต่อจากพระองค์ด้วยพระมหากษัตริย์ของไทย จึงเป็นเอหิภิกขุองค์แรกของโลก คือเป็นพระภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งวาจาบวชให้ด้วยพระองค์  และเป็นพระรัตนไตรที่สมบูรณ์  คือ มีพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นองค์ประกอบของศาสนานับแต่นั้นเป็นต้นมา
พระพุทธองค์ทรงพิจารณาตรวจหาบุคคลที่พร้อมด้วยปัญญาบารมีสามารถฟังพระเทศนาธรรมเพียงไม่กี่ประโยคก็สามารถเข้าใจและบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้เลย  พวกเขาเหล่านั้นรวมกันอยู่มีกระจายทั่วทุกประเทศและกำลังพาพวกบริวารศึกษาค้นหาตามแนวทางของตนอยู่  พวกเขาเข้าใจว่าพรหมเป็นที่สิ้นสุด  พากันหลงผิดคิดว่าไม่มีอีกแล้ว  ทำให้ต้องมาวนเวียนกันมาเกิดแล้วเกิดเล่า  หาทางออกไม่พบ  เมื่อได้ฟังการชี้แนะแนวทางจากพระพุทธองค์ก็สามารถจะเข้าถึงนำพาพรรคพวกหลุดพ้นวงจรการเกิดได้อย่างง่ายดาย      เพราะบำเพ็ญความเพียรมามากและเคยถึงระดับนี้หลายครั้งแล้ว แต่ยังติดความสุขแบบโลกอยู่ทำให้มีความลังเลสงสัย
จำนวนผู้คนที่รอคอยการมาโปรดของพระพุทธกกุสันโธอยู่นอกชมพูทวีปก็มีมากเท่า  ๆ กัน  โดยเฉพาะที่เมืองทอง  ลูกหลานของนายสรวงนางสางได้แพร่กระจายล้นหลามไปทั่วพื้นปฐมพี  แตกหน่อเหล่ากอไปผสมร่วมพันธ์กันออกไป  ผิดรูปผิดร่างตามภูมิประเทศ  ต่างอากาศฤดูกาลและอาหารการกิน  มีเผ่ามีกลุ่มเป็นสังคมและประเทศปกครองตนเอง 
การอพยพเคลื่อนย้ายแสวงหาถิ่นทำกินที่อุดมสมบูรณ์ให้เพียงพอต่อสมาชิกพวกพ้องและพลเมือง  เป็นการฝึกฝนให้วิถีชีวิตมีความอดทน  เป็นนักต่อสู้เฉลียวฉลาด  เอาตัวรอด  รู้รักสามัคคีกลมเกลียว  และขยันหมั่นเพียร  ธรรมชาติได้สอนให้พวกเขามีวัฒนาการแสวงหาความรู้ใหม่ตลอดเวลาเพื่อความอยู่ดีและอยู่รอดปลอดภัย  เป็นตัวอย่างกลุ่มเหล่าประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้า  แต่ก้าวร้าว  การสู้ต่อระหว่างเมืองหรือรัฐเต็มไปด้วยความโหดเหี้ยม  ทารุณไร้ความปราณี   ทำให้พระโพธิสัตว์ที่ลงมาบำเพ็ญในกลุ่มเผ่าเหล่านี้สร้างความเพียรทางเมตตา  ผู้ที่มีความพร้อมจะบรรลุธรรมขั้นสูงมีไม่มาก  แต่สามารถปลูกฝังศาสนาได้ 
แตกต่างจากสภาวจิตใจของคนที่อยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหวมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย  รักความสงบ  มีความเมตตาปราณีเป็นพื้นฐาน  เรียนรู้วิธีการปกป้องรักษามากกว่าการต่อสู้รุกรบแย่งชิง  รักษาแบบแผนดั้งเดิมได้นาน  สังคมของพวกคนกลุ่มนี้จะมีความหลากหลาย  แต่ไม่มีความแตกต่างมาก  มีการถ่วงดุลย์ระหว่างความเจริญด้านวัตถุและทางจิตใจกันอย่างเป็นธรรมชาติ  การแข่งขันต่อสู้ของกลุ่มเผ่าประเทศเหล่านี้จะไม่รุนแรง  เป็นการแย่งชิงอำนาจ  ผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการและศิลปวิทยาการของกันและกันในกลุ่มกันเองมากกว่าการทำลายล้าง  มีส่วนใหญ่ผู้ที่จะเข้าถึงและสำเร็จธรรมขั้นสูงมีมากในหมู่คนพลเมืองของเผ่าประเทศกลุ่มนี้
พระพุทธเจ้ากกุสันโธเสด็จเผยแผ่ธรรมโปรดสัตว์และปลูกฝังศาสนาของพระองค์ไปทั่วแผ่นดินอย่างทั่วถึง  คำว่านิพพาน คือ สวรรค์ลำดับต่อจากชั้นพรหมที่เข้าใจกันมา  พระพุทธองค์ทรงเมตตาอธิบายทำความกระจ่างให้เกิดขึ้นแก่เจ้าสำนักลัทธิและเหล่าบรรดาสาวกทั้งหลายคลายความยึดมั่นยอมปฏิบัติตามเพื่อพิสูจน์ จนสามารถสัมผัสรู้เองได้เห็นเป็นอย่างที่ทรงตรัสบอก ไม่มีความสงสัยต้องสอบถามใครอีก จึงพากันบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์กันทั้งหัวหน้าและบริวาร
พวกเขามีอำนาจพลังจิตจากการฝึกสามารถทบทวนย้อนอดีตมาเกิดเป็นอะไร และย้อนหลังก่อนมาเกิดเป็นอะไรมาก่อน ทุกคนพบว่าเป็นทั้งสัตว์และมนุษย์มาด้วยกันนับชาติภพไม่ถ้วน เสวยสุขบนทิพย์วิมาณ ชั้นพรหมสูงสุดนานเป็นอสงขัยเมื่อหมดบุญต่างพากันตกมาเกิดเป็นมนุษย์พร้อมกันอีก หลงวนเวียนเข้าใจผิดอยู่เช่นนี้ไม่มีทางออก จนกระทั่งได้พบพระพุทธเจ้าชี้แนะบอกทาง
เมืองทองหรือสุวรรณภูมิคือบริเวณพื้นที่ต้นกำเนิดมนุษย์และบรรพบุรุษของทุกคน  ที่ธรรมชาติจัดสรรให้เหล่าเทวดาชั้นพรหมหลงทางมาเกิดรวมกันรอการมาโปรดของพระพุทธเจ้า เพราะพวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่จะบรรลุธรรมได้โดยง่าย จัดได้เป็นกำลังสำคัญช่วยกันเผยแพร่ต่อไปยังดินแดนอื่นไกลออกไป ที่บรรดาลูกหลานต่างอพยพไปตั้งถิ่นฐานบ้านช่องแตกเป็นเผ่าเป็นประเทศ  ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนที่มีมนุษย์มากหลายชาติพันธุ์จำนวนมาก
เมืองสรวงหรือเมืองทองเป็นนครรัฐต้นบรรพบุรุษไทยที่พระมหากษัตริย์ได้สละราชสมบัติออกบวชเป็นเอหิภิกขุองค์แรกของโลก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกเที่ยวประกาศเผยแพร่ธรรมได้เลือกเอาภูมิภาคนี้เป็นฐานที่มั่นจัดตั้งองค์กรศาสนามีพระสงฆ์คอยรักษาวินัยเผยแผ่พระธรรมต่อไปหลังจากพระองค์ปรินิพพาน จนจะสิ้นอายุของศาสนา
ชมพูทวีปถูกกำหนดให้เป็นถิ่นอุบัติของพระพุทธเจ้า แต่ไม่สามารถจะอยู่รักษาได้นานเพราะธรรมชิตจัดสรรให้เป็นศูนย์กลางความเจริญทุกด้าน   ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในสังคมรวดเร็ว ศิลปศาสตร์วิทยาจะเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลาเพราะมีการแข่งขันสูง มีผู้คนจากประเทศอื่นไกลเดินทางเข้าออกติดต่อทำมาค้าขายพลุกพล่าน เหมาะสมเป็นสถานที่บ่มเพาะบัณฑิต  และตลาดของนักค้นคว้าประดิษฐ์ผลงานสู่สังคม สภาพเป็นอยู่มีความเหลื่อมล้ำและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงผู้นำบ่อยครั้ง
ปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวโยกย้ายของมนุษย์ทั้งหมดที่ไปมาติดต่อกันแม้จะอยู่ต่างกันห่างไกลแค่ไหนก็ตาม ในช่วงระยะเวลาหนึ่งพวกเขาต้องมีเหตุปัจจัยต้องได้มาถิ่นฐานแผ่นดินที่เคยเกิดของตนเองและของบรรพบุรุษผู้ให้กำเนิด  มันเป็นเรื่องของจิตวิญญาณที่มีระบบการทำงานตามความทรงจำที่บันทึกเอาไว้เอง เมื่อถึงเวลาจะเดินไปตามสัญญาหมายมั่นแม้แต่สถานที่ที่เคยกระทำสิ่งใดที่ส่งผลต่อผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีก็ตามจะต้องได้กลับมาเพื่อการสิ่งนั้นเสมอเช่นเดียวกันhttp://www.rattanakotara.org/dhamma.html

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พระโพธิสัตว์กลุ่มที่ 3 นักบวช ฤาษีชีไพร


พระโพธิสัตว์กลุ่มที่ 3  นักบวช  ฤาษีชีไพร


บนโลกที่มีผืนแผ่นดินเต็มไปด้วยพืช    สัตว์ คน ทุกพื้นที่ คนเป็นสัตว์สายพันธุ์หนึ่งของโลกที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาให้มีอวัยที่ละเอียดสลับซับซ้อนเป็นพิเศษโดยเฉพาะ เป็นการรองรับเอาจิตวิญญาณที่มีความจำหรือสัญญาหลังจากได้วนเวียนมาเกิดเป็นทุกอย่างนับไม่ถ้วน

บนผืนแผ่นดินที่มีคนจึงมีความแตกต่างเกิดขึ้น  จะสังเกตุเห็นได้จากความเป็นอยู่ สามารถดัดแปลงธรรมชาตินำเอาแร่ธาตุทั้งในดินบนน้ำมาใช้นอกเหนือจากกินดื่มอย่างเดียว ซึ่งสัตว์ประเภทอื่นทำไม่ได้

แม้จะมีความคิดเหมือนกัน     ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มต้นที่ความคิดก่อน นั่นก็คือจิตใจหรือวิญญาณ    ที่ได้บันทึกเอาความทรงจำเก่าเอาไว้    เมื่อมนุษย์กลุ่มต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นสังคม  เป็นชุมชนและบ้านเมือง ความเจริญก้าวหน้าการดัดแปลงเล่นแร่แปลธาตุมาเป็นประโยชน์สร้างความสะดวกสบายเกิดขึ้น    ธรรมชาติได้กำหนดให้มีคละเคล้ากันไป เป็นการจัดสรรสร้างความสมดุลให้มีขึ้น

พ่อมดหมอผี นักพรตนักบุญ นักบวช ฤาษี ชีไพร นักคิดนักวิชาการต่าง ๆ พวกเขาเหล่านี้คือพวกเทวดาพี่เลี้ยง       ที่คอยเกิดมาดูแลและเป็นครูสอนเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทั้งที่เคยรู้จักกันมาก่อนและเป็นเพื่อนใหม่ก็มี ทุกคนเคยตั้งสำนัก       เป็นเจ้าของลัทธินิกาย     มีลูกศิษย์คอยเรียนรู้     รับใช้   เผยแพร่  ความคิด ความเชื่อมาด้วยกันทั้งนั้น ถูกบ้างผิดบ้างก็แล้วแต่เหตุปัจจัยในแต่ละครั้งแต่ละชาติ ตำนานเทพพรหม  กำหนดชั้นสวรรค์และนรก ชื่อเรียกเทวดาและหัวหน้า รวมทั้งเจ้าของวิชาศาสตร์วิชาต่าง ๆ ก็ล้วนแต่สืบทอดมาจากพวกเขาเหล่านี้เป็นผู้นำมา

มีความแตกต่างเฉพาะจากภาษาที่สร้างหรือบัญญัติใช้กันในหมู่เผ่าพันธุ์ของตนเอง       แต่เนื้อหาสาระแล้วสื่อความหมายเหมือนกันหมดhttp://siamdeva.blogspot.com/p/blog-page_18.html

พระโพธิสัตว์กลุ่มที่ 2 นักพรตและนักบุญ

พระโพธิสัตว์กลุ่มที่ 2 นักพรตและนักบุญ 

การติดต่อกับวิญญาณของเหล่าพ่อมด หมอผีเป็นการเชื่อมต่อคลื่นพลังจิตที่มีขนาดความถี่หรือความละเอียดเท่ากัน ผู้ที่ทำต้องมีสมาธิสามารถควบคุมจิตปรับคลื่นหรืออารมณ์ให้เป็นหนึ่งในขณะที่สื่อสารกัน คำพูดหรือภาษาที่ออกมาจากปากของพ่อมดหมอผีจะเป็นได้ทั้งของเขาเองและวิญญาณ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นวิญญาณที่ต้องการจะสื่อมากกว่า     ซึ่งจะใช้เวลาไม่มากนักประมาณ 10-20 นาทีเท่านั้น ที่เกินไปกว่านี้จะเป็นคำพูดที่พยายามอธิบายของผู้เป็นร่างทรงหรือพ่อมดหมอผีตามความเข้าใจ เพื่อเป็นไปตามความประสงค์ต้องการของเจ้าของพิธีการ 

บรรดาพ่อมดหมอผีหรือร่างทรงไม่มีความสามารถจะรู้แท้จริงว่าวิญญาณที่มาสื่อสารด้วยนั้นเป็นใคร เป็นเทวดาหรือผีชั้นภพภูมิใด พวกเขาจะบอกว่าอย่างใดหรือเป็นอะไรก็ได้ จิตที่ละเอียดกว่ามีอำนาจเหนือ สามารถแทรกแซงจิตที่หยาบโดยเฉพาะมนุษย์ทุกคน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเทวดาหรือผีก็เข้ามาติดต่อผ่านได้ พวกเขาก็อยากจะบอกให้ลูกหลานบริวารญาติมิตรให้รับรู้สภาพของบรรพบุรุษเป็นอย่างไร    และจะต้องทำอะไรหรือปฏิบัติตนเช่นใด     จึงมาอาศัยพ่อมดหมอผีซึ่งเป็นพวกเทวดาพระโพธิสัตว์มาเกิดเพื่อช่วยเหลือโดยเฉพาะ   

ความไม่รู้ไม่เข้าใจคือความเพียรที่จะต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้เพื่อตอบคำถามตนเองและอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ เป็นลำดับขั้นตอนเรียนรู้จากการปฏิบัติของบรรดาเทวดาในชั้นนี้ที่ลงมาสร้างบารมี 

นักพรต   เป็นเทวดาพระโพธิสัตว์พวกหนึ่งที่พากันบำเพ็ญในป่าเขา   ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ศึกษาหาความรู้ด้านจิตวิญญาณและศาสตร์ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการรักษาโรคด้วยสมุนไพร พวกเขาทั้งหลายเป็นต้นเง้ารากทุก ๆ ศาสตร์วิชาในเวลาต่อมา  และพากันต่อยอดสืบต่อเป็นรุ่นต่อรุ่น  และที่มนุษย์ได้อยู่รวมกันเป็นชุมชน และสังคม  จึงมีการแบ่งงานแบ่งหน้าที่  ปัญหาที่อยู่ทำกิน   ที่ดินอาศัย  และโรคภัยไข้เจ็บ    เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุปัจจัย     ให้เกิดการพัฒนาวิชาการความรู้เพื่อใช้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น   พวกเขาต่างพากันหมุนเวียนมาเกิด   และทุกครั้งก็จะมาพัฒนาการวิชาการต่อจากของเดิมที่ตนเองได้คิดค้นทิ้งไว้ก่อนตาย คือเป็นหน้าที่ของแต่ละตนที่เริ่มต้นไว้ต้องดำเนินต่อจนจบ ซึ่งนอกจากจะเป็นไปตามคำอธิษฐานแล้วยังเป็นวิถีทางการสร้างบารมีของแต่ละคนด้วย 

ส่วนเส้นทางการสร้างบารมีและเรียนรู้ของพระโพธิสัตว์สายนักบุญ   มักปรากฏเป็นผู้นำ เช่นเป็นผู้นำเผ่า หัวหน้ากลุ่มต่าง ๆ มีบทบาทพาผู้คนต่อสู้  เป็นนักปกครอง  และการทหาร   สร้างบารมีด้วยการสร้างหรือแย่งบ้านชิงเมือง     และรวบรวมผู้คนเป็นสังคม      แบ่งสรรปันส่วน       จัดระเบียบ       สร้างกฏเกณฑ์ มีการนำศาสตร์วิชาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่แย่งได้มา และวิชาที่คิดค้นคว้าเองมาทำให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม    เส้นทางนี้มีทั้งสร้างและทำลาย  ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจากวิถีทางบำเพ็ญบารมี เป็นผู้ต้องรับผลกรรมในฐานะตัวการทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น แม้เป็นความตั้งใจดี        แต่ได้สร้างความพอใจและความเสียใจให้เกิดขึ้น         เส้นทางนี้จึงเป็นมหาวิบากยิ่ง เพราะได้เปิดโอกาสและช่องทางให้นักสร้างบารมีทั้งหลายได้ทำหน้าที่กันทุกคน เป็นการเสียสละอย่างมาก       เป็นเส้นทางของพระมหาโพธิสัตว์ 

ยุคโพธิสัตว์  เป็นช่วงระยะที่มนุษย์มีพัฒนาการมากทุกด้าน ศิลปวิทยาการมีทั้งการเริ่มต้นและถ่ายทอดตลอดจนนำมาปรับใช้ในสังคมมากขึ้น  

ธรรมชาติ สภาพแวดล้อมภูมิประเทศภูมิอากาศ อาหารการกินมีส่วนกำหนดให้มนุษย์มีรูปร่าง ลักษณะ อุปนิสัย ผิวสีและแม้กระทั่งการสืบพันธุ์ มีความผิดแตกต่างจากที่เริ่มต้นเหมือนกัน ยิ่งนานวันจำนวนผู้คนมากขึ้น    ความคิดก็มากตาม  จากแต่เดิมที่ว่างเปล่า ความแตกต่างและความไม่เท่าเทียมกัน  เป็นแรงผลักดันให้สังคมมนุษย์ได้พัฒนาไปข้างหน้าตลอดเวลา แต่ทุกอย่างที่มนุษย์ทำขึ้นมา ทุกกรณีเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการในเรื่องความเป็นอยู่ที่สุขสบายทั้งสิ้น 

ธรรมชาติได้จัดสรรให้แต่ละส่วนทั้งหมดในโลกนี้ต้องพึ่งพากัน     ไม่มีความสมบูรณ์หรือพอดี ทุกอย่างเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน จะมีปัจจัยรวมกันเมื่อถึงเวลาของมันเองอย่างเป็นขั้นตอน   จนไปสู่การเปลี่ยนแปลง พวกเทวดาโพธิสัตว์มักจะมาทำหน้าที่จัดการแก้ปัญหา   ณ.เวลานั้นเสมอ    เข้าไปจัดการเรื่องใด   จะเป็นการเรียนรู้เรื่องนั้นและได้เพียงเรื่องเดียวในชาติหนึ่ง ๆ   
พวกนี้จึงเป็นเทวดาขยันมาเกิด อายุขัยไม่ยืนยาวเท่ากับพวกอื่น  เมื่อหมดภาระหน้าที่มักจะตายลงหลังจากนี้  ความรู้ความเข้าใจของพวกเขายังไม่เพียงพอ ยังต้องเรียนรู้อีกมาก    ดังนั้นจึงทำให้คำสอนของพระโพธิสัตว์ที่เป็นลัทธิ หรือสำนักนิกายในยุคต่าง ๆ ไม่ถูกต้องสมบูรณ์      เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้รู้มา     จึงต้องลงมาเกิดเพื่อเรียนรู้ให้ถึงที่สุด

พระโพธิสัตว์กลุ่มแรก พวกพ่อมดหมอผี

พระโพธิสัตว์กลุ่มแรก  พวกพ่อมดหมอผี 

ภพภูมิของเทวดาชั้นโพธิสัตว์ หรือพวกที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น พวกเขาจะทะยอยลงมาเกิดเมื่อถึงเวลาอันควร ซึ่งทุกครั้งจะเหมาะสมกับสถานการณ์ในหมู่หรือชุมชนที่กำลังต้องการพอดี    เป็นการมาทั้งเรียนรู้สะสมประสบการณ์     และช่วยเหลือหรือสร้างบารมีของพวกเขา     ทุกเผ่าพันธ์บนโลกมนุษย์จะมีเวทวดาในกลุ่มนี้ปะปนอยู่ด้วยเสมอตลอดเวลา 
วิถีชิวิตมนุษย์ยุคชาดก ทุกคนมีอิสระเสรีภาพเท่าเทียมกันใช้ชีวิตอย่างเสรีภายในขอบเขตธรรมชาติที่อำนวยให้ โลกให้ความเป็นธรรมแก่ทุกสรรพสัตว์   เปิดโอกาสให้ตักตวง ดื่มกินเสพย์สมกันอย่างเต็มที่จนอิ่มหนำสำราญ แม้ช่วงเวลาจะไม่กำหนดอายุวันเดือนปี แต่ก็มีการตายและการเกิดตลอดเวลา วิญญาณที่ล่องลอยจากร่างไปก็ยังต้องกินหรือเสพย์อยู่เหมือนกัน      ที่แตกต่างออกไป หรือที่เรียกกันว่ากินทิพย์       ซึ่งอย่างไรก็ยังอาศัยคนที่ยังมีชีวิตช่วยจัดการให้
ดังนั้นจะมีแต่บรรดาพวกลูกหลานญาติมิตรที่ผูกพันธ์รู้จักเท่านั้นยอมเสียเวลาดำเนินการ     คนกลุ่มใดที่ชนรุ่นหลังกระทำการตามที่บรรพบุรุษได้เซี่ยมสอนไว้อย่างสม่ำเสมอ   มีผลทำให้พวกเขาเกาะกลุ่มกันเหนียวแน่นเป็นปึกแผ่นเข้มแข็งและยั่งยืน 
ยุคกาลปลายสมัยชาดก      เริ่มมีสังคมแบ่งเป็นเผ่า    เป็นกลุ่มพวก     มีผู้หัวหน้าทำการสู้รบ    แย่งชิงของรักของหวงกันในระหว่างเผ่า มีความทุกข์   รู้สึกเสียใจในการสูญเสียที่เกิดขึ้นเมื่อพ่ายแพ้ และความดีใจของผู้ชนะสลับกันไปมา เริ่มมีการร้องขอความช่วยเหลือจากวิญญาณบรรพบุรษให้ประสบโชคดีพบแต่ความสำเร็จ มีการจัดระเบียบ    สร้างแบบแผนพิธีกรรมเพื่อแสดงความเคารพสักการะ ผู้ที่สามารถสื่อสารติดต่อกับจิตวิญญาณจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญเท่า ๆกับผู้นำหรือหัวหน้าเผ่า ผู้คนให้ความเคารพนับถือเกรงกลัวและได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ 
ความสามารถพิเศษของบุคคลเหล่านี้มีเกิดขึ้นในทุกๆเผ่า มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป     แต่หน้าที่เหมือนกันทุกประการ อย่างที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พวกพ่อมดหมอผี หรือผู้วิเศษและหรือแม้กระทั่งว่าเป็นตัวแทนของพระเจ้าก็มี  แต่ทั้งหมดก็คือพวกเขาเหล่าเทวดาชั้นพระโพธิสัตว์ทั้งนั้น

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มะรุม พืชมหัศจรรย์

มะรุม พืชมหัศจรรย์

มะรุม เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน เช่น ราก จะมีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือก จะมีรสร้อน ช่วยขับลม ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ เป็นต้น
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ เนื้อในเมล็ด
สรรพคุณ :
ฝัก - ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)
ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
- แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย
จากประสบการณ์ เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก การรับประทานเนื้อในเมล็ด และใบสดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน
"มะรุม" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก “ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม” ภาคเหนือเรียก “มะค้อมก้อน” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก “ผักเนื้อไก่” เป็นต้น
ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้ทให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้
ส่วนอื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานจังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง “ผงนัว” กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก
คุณค่าทางอาหารของมะรุม มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน
นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ
วิตามินเอ บำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า
วิตามินซี ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
แคลเซียม บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
โพแทสเซียม บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
ใยอาหารและพลังงาน ไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุม มีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก
ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”) เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย
ประโยชน์ของมะรุม1.ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
3.รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4.ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7.ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8.รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9.รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
10.รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
11.เป็นยาปฏิชีวนะ
น้ำมันมะรุมสรรพคุณ..ใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น
ชะลอความแก่
กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย
ฆ่าจุลินทรีย์ สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว
การป้องกันมะเร็ง สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก
ใบมะรุม 100 กรัม (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน 26 แคลอรี
โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1 กรัม
ใยอาหาร 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110 ไมโครกรัม
แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)
ทั้งนี้ กลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) โดย
กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย
ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง
ฤทธิ์ป้องกันตับ งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีน
ทรานมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตับจากยาเหล่านี้

เอกสารอ้างอิง:
Nature’s Medicine Cabinet by Sanford Holst
The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times March 27th 2000 article wrote by Mark Fritz. WWW.PUBMED.GOV. (Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60, Issue 3, Nov. 2003, Pages 175-180: Depts. of Microbiology, Pharmaceutical Botany, Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University, Bangkok.
นิตยสารหมอชาวบ้านปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

สมุนไพร






พืชสมุนไพร มีความหมายเกี่ยวพันกับสุขภาพอนามัยของผู้คนมาแต่ประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการรักษาสุขภาพของคนทั่วไปในชนบท จากรายงานของศาสตราจารย์พิเศษ ประชิด วามานนท์ ได้กล่าวว่ามีการขุดค้นพบพืชพันธุ์ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุราว 9,000 ปีมาแล้ว ซึ่งมีพืชพันธุ์สมุนไพรประกอบยาถึง 9 ชนิด คือ ดีปลี สมอพิเภก สมอไทย มะซาง หมาก พลู มะเยา มะเกิ้ม และพริกไทยป่า ในปัจจุบันพืชสมุนไพรได้กลายเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาสุขภาพภายใต้ความคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และใช้ทรัพยากรอย่างระมัดระวัง


พืชสมุนไพรเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่งของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ ได้มาจากธรรมชาติ ดังนั้นในการพัฒนาสมุนไพร ด้านหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือ ต้องมีการนำสมุนไพรมาปลูก ปลูกอย่างถูกวิธี ดูแลรักษาให้มีปริมาณและคุณภาพที่ดี เพื่อสามารถนำมาเป็นยารักษาโรคที่มีสรรพคุณดีตามต้องการ ในการปลูกพืชสมุนไพรมีข้อควรคำนึงคือ ทำอย่างไรให้ได้สมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์หรือตัวยาที่สูงสุดและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค กระบวนการผลิตสมุนไพรอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และการรักษาสุขอนามัยในแปลงปลูกและการปฏิบัติการต่าง ๆ ด้วย




การจำแนกพืชสมุนไพร


การจำแนกพืชสมุนไพรสามารถจำแนกได้หลายวิธี ซึ่งเอกสารนี้จะทำการจำแนกพืชสมุนไพรพอสังเขป ดังนี้


1. การจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์


1.1 Essential oil (น้ำมันหอมระเหย) พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาสกัด น้ำมันหอมระเหยได้โดยวิธีการกลั่น ซึ่งจะได้น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชสมุนไพร น้ำมันหอมระเหยนี้มีสารสำคัญที่สกัดออกมาซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากกว่า รวมทั้งการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในรูปอื่น ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย เช่น


- น้ำมันตะไคร้หอม ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ แชมพู น้ำหอมหรือใช้ทำสารไล่แมลง


- น้ำมันไพล ใช้ในผลิตภัณฑ์ครีมทาภายนอก ลดการอักเสบจากการฟกช้ำ


- น้ำมันกระวาน ใช้แต่งกลิ่นเหล้า เครื่องดื่มต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม


- น้ำมันพลู ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ หรือใช้เป็นเจลทาภายนอกแก้คัน


1.2 ยารับประทาน พืชสมุนไพรหลายชนิด สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคได้ อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ที่ออกฤทธิ์เพื่อการบำบัดรักษา เช่น



- แก้ไข้ : บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร


- แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ : กระเพรา ไพล ขิง


- ระงับประสาท : ขี้เหล็ก ไมยราพ


- ลดไขมันในเส้นเลือด : คำฝอย กระเจี๊ยบแดง กระเทียม


1.3 ยาสำหรับใช้ภายนอก เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาบำบัดโรคที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง แผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายรวมทั้งแผลในปาก อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ ลักษณะของการนำมาใช้มีหลายลักษณะมีทั้งใช้สด บดเป็นผง ครีม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร และความสะดวกในการนำมาใช้ ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก เช่น


- รักษาแผลในปาก : บัวบก หว้า โทงเทง


- ระงับกลิ่นปาก : ฝั่ง กานพลู


- แก้แพ้ : ผักบุ้งทะเล เสลดพังพอน เท้ายายม่อม ตำลึง


- รักษาแผลน้ำร้อนลวก : บัวบก ยาสูบ ว่านหางจระเข้


- แก้งูสวัด : ตำลึง พุดตาน ว่านมหากาฬ เสลดพังพอน




1.4 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่ม พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ผู้บริโภคจึงรู้สึกปลอดภัยในการนำมารับประทาน เช่น


- ดูดจับไขมันจากเส้นเลือด ลดน้ำหนัก : บุก


- เปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ลดน้ำหนัก : ส้มแขก


- เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ : หญ้าหนวดแมว คำฝอยหญ้าหวาน


1.5 เครื่องสำอางค์ เป็นการนำพืชสมุนไพรมาใช้อักลักษณะหนึ่ง การนำพืชสมุนไพรมาใช้เป็นเครื่องสำอางค์มีมานานแล้ว และในปัจจุบันได้รับการยอมรับมากขึ้น เนื่องจากปลอดภัยกว่าการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยมีส่วนผสมของพืชสมุนไพรเกิดขึ้นมากมาย เช่น แชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นเครื่องสำอางค์ เช่น อัญชัน ว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เห็ดหลินจือ เป็นต้น



การจำแนกพชสมนไพรตามลกษณะภายนอกของพ
ไมนต
ไมุ่
ไมมล
ไมเถา
ี้เหล
หญาหนวดแมว
าทะลายโจร
ปล
สะเดา
ขลู่
ขมิ้
มะแวงเคร
มแขก
ทองพนชั่
ไพล
หางไหลแดง
การบ
มเหดเทศ
บอระเพ
กานพล
มะแวงต
เปราะหอม
วบก
นทนเทศ
กระเจี๊ยบแดง
แมงล
พล
ฝาง
เจตมลเพล
เร
ญช
ฝรั่
มเสนต
ลำโพง
กวาวเคร
เพกา
ระยอม
านน
าวเยนเหนอขาวเยนใต
มะคำดควาย
มปอย
โสมไทย
โคคลาน
มะขามแขก
พญายอ
หญาปกกิ่
เถาวลยเปรยง
สมอภเภก
เสลดพงพอนตวผู้
หยาหวาน
บอระเพดพงชาง
อบเชย
หนมานประสานกาย
านหางจระเข
รางจ
สะเดา

กระวาน
หนอนตายหยาก
งทะลาย

เนระพไทย
สะคาน



สภาพแวดล้อมที่ต้องการ


การปลูกพืชสมุนไพรเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากในอดีตการใช้สมุนไพรเป็นการเก็บจากธรรมชาติแต่ไม่มีการปลูกทดแทน ทำห้พืชสมุนไพรมีจำนวนลดลง ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอาพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปลูกให้ได้จำนวนมากขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นเพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จึงต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้


พื้นที่ การเลือกสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชสมุนไพรแต่ละชนิดเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากพืชสมุนไพรเป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ละพื้นที่เหมาะที่พืชสมุนไพรจะขึ้นแตกต่างกัน การเลือกพื้นที่ให้เหมาะสมจะช่วยให้พืชนั้น ๆ เจริญเติบโตดี ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและการดูแลรักษา


แสง มีความสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืช ความต้องการในปริมาณของแสงเพื่อนำไปใช้ขึ้นแยู่กับพืชแต่ละชนิด พืชสมุนไพรบางชนิดสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีเมื่อปลูกในสภาพกลางแจ้ง แต่บางชนิดต้องการแสงน้อย จึงต้องมีการดูแลให้เหมาะสม เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณสารสำคัญอีกด้วย



อุณหภูมิ การที่พืชได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม มีผลต่อการเจริญเติบโตแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช บางชนิดชอบร้อน แห้งแล้ง บางชนิดชอบอากาศหนาว นอกจากนี้ยังรวมถึงความร้อนเย็นของดินและบรรยากาศรอบ ๆ ต้นพืชสมุนไพรด้วย เช่น พืชเขตร้อนทั่วไป อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต คือ 18 - 35 องศาเซลเซียส ถ้าพืชได้รับอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต


น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ต้นพืชดูดแร่ธาติอาหารจากดินได้ ช่วยการสังเคราะห์แสงและการหายใจของพืช นอกจากความชุ่มชื้นในดินแล้ว ความชุ่มชื้นในอากาศก็จำเป็น ช้วยให้ต้นไม้สดชื่นไม่เหี่ยวเฉา ดังนั้นถ้าพืชขาดน้ำจะเกิดอาการเหี่ยวเฉา ถ้ารุนแรงก็อาจตายได้ พืชบางชนิดต้องการความชื้นสูง เช่น กระวาน กานพลู เป็นต้น




การปลูกพืชสมุนไพร


1. ในการเตรียมดินของพืชสมุนไพร มีขั้นตอนดังนี้


1.1 การไถพรวน เพื่อกำจัดวัชพืชและทำให้ดินร่วนซุย


1.2 ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก


1.3 กำหนดระยะปลูกที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด


กรณีที่ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้ราก หัว ลำต้นใต้ดิน หรือเหง้า จำเป็นต้องเตรียมดินให้ร่วนซุยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่ใช้ราก อาจตัดปลูกในภาชนะที่นำเอารากออกมาภายหลังได้



2. วิธีการปลูกมีหลายวิธีขึ้นแยู่กับส่วนของพืชที่นำมาปลูกและชนิดของพืช


2.1 การปลูกด้วยเมล็ด สามารถทำให้โดยการหว่านลงแปลง แล้วใช้ดินร่วนหรือทรายหยาบ โรยทับบาง ๆ แล้วรดน้ำให้ชื้นตลอดทั้งวัน เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อน ถอนต้นที่อ่อนแอออก ให้มีระยะห่างระหว่างต้นพอสมควร ส่วนการหยอดลงหลุมโดยตรงมักใช้กับพืชที่มีเมล็ดใหญ่ โดยหยอดเมล็ดให้มีจำนวนมากกว่าที่ต้องการและถอนออกภายหลัง


2.2 การปลูกด้วยกิ่งชำหรือกิ่งตอน ปลูกโดยการนำเอากิ่งชำมาปลูกในถุงพลาสติกให้แข็งแรงดีก่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ เตรียมหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างกว่าถุงพลาสติกเล็กน้อย เมื่อนำต้นอ่อนลงปลูกแล้ว กลบด้วยดินร่วนหรือดินปนทราย กดดินให้แน่นพอประมาณ คลุมด้วยเศษฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อรักษาความชุ่มชื้น


2.3 การปลูกด้วยหัว ควรปลูกในที่ระบายน้ำดี ปลูกโดยฝังหัวให้ลึกพอประมาณ กดดินให้แน่นพอสมควร คลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง


2.4 การปลูกด้วยหน่อหรือเหง้า ในกรณีที่มีต้นพันธุ์อยู่แล้วทำการแยกหน่อที่แข็งแรง โดยตัดแยกหน่อจากต้นแม่ นำหน่อที่ได่มาตัดรากที่ช้ำหรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วจึงนำไปปลูกในดินที่เตรียมไว้ กดดินให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม ควรบังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง


2.5 การปลูกด้วยไหล ปกตินิยมเอาส่วนของไหลมาชำไว้ก่อน แล้วจึงย้ายปลูกในพื้นที่





พืชสมุนไพรบางชนิดที่ปลูกโดยการเพาะเมล็ด
พืช
ระยะปลูก (ต้น X แถว)
อัตราการใช้พันธุ์
การเพาะเมล็ด
กระเจี๊ยบแดง
1 X 1.2 ม.
ใช้เมล็ด 300 กรัม / ไร่
หยอดหลุมละ 3 - 5 เมล็ด แล้วถอนแยกเมื่อต้นสูง 20 - 25 ซม.
กานพลู
4.5 X 6 ม.
จำนวน 60 ต้น / ไร่
เลือกเมล็ดสุกซึ่งมีสีดำ เพาะเมล็ดทันทีเพราะจะสูญเสียอัตรางอกภายใน 1 สัปดาห์
กระเพราแดง
5 X 15 ซม.
ใช้เมล็ด 2 กก. / ไร่
ใช้วิธีหว่าน
ขี้เหล็ก
2 X 2 ม.
จำนวน 400 ต้น / ไร่
แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส 3 - 5 นาที
คำฝอย
30 X 30 - 50 ซม.
ใช้เมล็ด 2 - 2.5 กก. / ไร่
ต้องการความชื้น แต่อย่าให้แฉะเมล็ดจะเน่า
ชุมเห็ดเทศ
3 X 4 ม.
จำนวน 130 ต้น / ไร่
เพาะเมล็ดจากฝักแก่จัด เมล็ดสีเทาอมน้ำตาล
มะขามแขก
50 X 100 ซม.
จำนวน 3,000 ต้น / ไร่
หยอดหลุมละ 2 - 3 เมล็ด แล้วถอนออกให้เหลือหลุมละต้น
ฟ้าทะลายโจร
15 X 20 ซม.
ใช้เมล็ด 400 กรัม / ไร่
เลือกเมล็ดแก่สีน้ำตาลแดงแช่น้ำอุ่น 3 - 5 นาที โรยเมล็ดบาง ๆ ให้น้ำในแปลงเพาะอย่างสม่ำเสมอ
มะแว้งเครือ
1 X 1 ม.
จำนวน 1,600 ต้น / ไร่
แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส 3 - 5 นาที เพาะในกระบะ 1 เดือน จึงย้ายปลูก
ส้มแขก
9 X 9 ม.
จำนวน 20 ต้น / ไร่
มีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย จึงควรเสียบยอดพันธุ์ดีของต้นตัวเมียบนต้นตอที่เพาะจากเมล็ดอีกครั้งหนึ่ง



การปลูกพืชสมุนไพร
พืช
วิธีปลูก
ระยะปลูก
(ต้น X แถว)
อัตราพันธุ์ที่ใช้ต่อไร่
การเตรียมพันธุ์ปลูก
ดีปลี
ปักชำ
1 X 1 ม.
1,600 ต้น / ไร่
ตัดเถายาว 4 - 6 ข้อ เพาะชำในถุง 60 วัน
พริกไทย
ปักชำ
2 X 2 ม.
400 ต้น / ไร่
ใช้ยอดหรือส่วนที่ไม่แก่จัด อายุ 1 - 2 ปี ตัดเป็นท่อน 5 - 7 ข้อ
พลู
ปักชำ
1.5 X 1.5 ม.
700 ต้น / ไร่
ตัดเถาเป็นท่อนให้มีใบ 3 - 5 ข้อ
พญายอ
ปักชำ
50 X 50 ซม.
4,000 ต้น / ไร่
ตัดกิ่งพันธุ์ 6 - 8 นิ้ว มีตา 3 ตา ใบยอด 1/3 ของกิ่งพันธุ์
เจตมูลเพลิง
ปักชำ
50 X 50 ซม.
4,000 ต้น / ไร่
ใช้กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนปักชำ
อบเชย
กิ่งตอน
2 X 2 ซม.
400 ต้น / ไร่
-
ฝรั่ง
กิ่งตอน
4 X 4 ม.
100 ต้น / ไร่
-
ขมิ้นชัน
เหง้า
30 x 30 ซม.
10,000 ต้น / ไร่
เหง้าอายุ 7 - 9 เดือน แบ่งให้มีตาอย่างน้อย 3 - 5 ตา
ตะไคร้หอม
เหง้า
1.5 X 1.5 ม.
600 หลุม / ไร่
ตัดแบ่งให้มีข้อ 2 - 3 ข้อ ตัดปลายใบออกปลูก 3 ต้น / หลุม
ไพล
เหง้า
50 X 50 ซม.
4,000 ต้น / ไร่
เหง้าอายุมากกว่า 1 ปี มีตาสมบูรณ์ 3 - 5 ตา
บุก
หัว
40 x 40 ซม.
6,000 หัว / ไร่
หัวขนาดประมาณ 200 กรัม ฝังลึกจากผิวดิน 3 - 5 ซม.
หางไหล
ไหล
1.5 X 1.5 ม.
700 ต้น / ไร่
เลือกขนาดกิ่ง 0.7 - 1 ซม. มีข้อ 3 - 4 ข้อ
เร่ว
หน่อ
1 X 1 ม.
1,600 ต้น / ไร่
ตัดแยกหน่อจากต้นเดิมให้มีลำต้นติดมาด้วย
ว่านหางจระเข้
หน่อ
50 X 70 ซม.
4,500 ต้น / ไร่
แยกหน่อขนาดสูง 10 - 15 ซม.



การดูแลรักษาพืชสมุนไพร


การพรางแสง พืชสมุนไพรหลายชนิดต้องการแสงน้อย จึงต้องมีการพรางแสงให้ตลอดเวลา การพรางแสงอาจใช้ตาข่ายพรางแสง หรืออาจปลูกร่วมกับพืชอื่นที่มีร่มเงา ปลูกบริเวณเชิงเขาหรือปลุกในฤดูฝนซึ่งมีช่วงแสงไม่เข้มนัก เช่น บุกฟ้าทะลายโจร เร่ว หญ้าหนวดแมว เป็นต้น สำหรับพืชสมุนไพรทั่วไปที่อ่อนแออยู่ ก็ควรพรางแสงให้ชั่วระยะหนึ่งจนพืชนั้นตั้งตัวได้ จึงให้แสงตามปกติ


การทำให้ค้างในพืชเถาต่าง ๆ ควรทำค้างเพื่อสะดวกในการเก็บผลผลิต การดูแลรักษาและการเจริญเติบโตของพืช เช่น พริกไทย พลู มะแว้งเครือ อัญชัน เป็นต้น


การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมโดยพิจารณาลักาณะของพืชแต่ละชนิดว่าต้องการน้ำมากหรือ้อย โดยปกติควรให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้ง แต่หากเห็นว่าแฉะเกินไปก็เว้นช่วงได้ หรือแห้งเกินไปก็ให้น้ำเพิ่มเติม จึงต้องคอยสังเกตเนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพดินและภูมิอากาศแตกต่างกัน การให้น้ำควรให้จนกว่าพืชจะตั้งตัวได้


การพรวนดิน เป็นการทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำดีขึ้น ทั้งยังช่วยกำจัดวัชพืชอีกด้วย จึงควรมีการพรวนดินบ้างเป็นครั้งคราว โดยพรวนในขณะที่ดินแห้งพอสมควร และไม่ควรให้กระทบกระเทือนรากมาก


การใส่ปุ๋ย โดยปกติจะให้ก่อนการปลูก โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ในการให้ปุ๋ยกับพืชสมุนไพรแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะปุ๋ยจะค่อย ๆ ย่อยสลายและปล่อยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ให้พืชอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ และยังช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดี การให้ปุ๋ยควรให้อย่างสม่ำเสมอประมาณ 1 - 2 เดือนต่อครั้ง โดยอาจใส่แบบเป็นแถวระหว่างพืชหรือใส่รอบ ๆ โคนต้นบริเวณทรงพุ่มก็ได้


การกำจัดศัตรูพืช ควรใช้วิธีธรรมชาติ เช่น


ปลูกพืชหลายชนิดบริเวณเดียวกัน และควรปลูกสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน และมีฤทธิ์ในการรบกวนแมลงแทรกอยู่ด้วย เช่น ดาวเรือง ตะไคร้หอม กระเพรา เสี้ยนดอกม่วง เป็นต้น


อาศัยธรรมชาติจัดสมดุลกันเอง ไม่ควรทำลายแมลงทุกชนิด เพราะบางชนิดเป็นประโยชน์ จะช่วยควบคุมและกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชให้ลดลง


ใช้สารจากธรรมชาติ โดยใช้พืชที่มีสารประกอบที่มีฤทธิ์ต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชมากำจัด โดยที่แต่ละพืชจะมีสารประกอบที่ออกฤทธิ์กับแมลงต่างชนิดกัน เช่น สารสกัดจากสะเดา : ด้วง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด ยาสูบ : เพลี้ยอ่อน ไรแดง โรครา หางไหลแดง : เพลี้ย ด้วง เป็นต้น


การบำรุงรักษาพืชสมุนไพร คววรเลือกวิธีดูแลรักษาให้เป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด และควรหลีกเลี่ยงสารเคมีไม่ว่าด้านการให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืชหรือศัตรูพืช เนื่องจากอาจมีพิษตกค้างในพืชและยังมีผลกับคุณภาพและปริมาณสารสำคัญในพืชอีกด้วย





การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร


1. เก็บเกี่ยวถูกระยะเวลา ที่มีปริมาณสารสำคัญสูงสุด การนำพืชสุมนไพรไปใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุดนั้น ในพืชจะต้องมีปริมาณสารสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร ดังนั้นการเก็บเกี่ยวสมุนไพรต้องคำนึงถึงทั้งอายุเก็บเกี่ยวและช่วงเวลาที่พืชให้สารสำคัญสูงสุดด้วย


2. เก็บเกี่ยวถูกวิธี โดยทั่วไปการเก็บส่วนของพืชสมุนไพร แบ่งออกตามส่วนที่ใช้เป็นยา ดังนี้


2.1 ประเภทรากหรือหัว เก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบและดอกร่วงหมด หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูรอน ซึ่งเป็นช่วงที่รากและหัวมีการสะสมปริมาณสารสำคัญไว้ค่อนข้างสูง วิธีเก็บ ใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง ตัดรากฝอยออก


2.2 การเก็บเปลือกรากหรือเปลือกต้น จะเก็บในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูฝน ซึ่งมีปริมาณสารสำคัญในพืชสูง และเปลือกลอกออกง่าย ส่วนเปลือกรากเก็บในช่วงต้นฤดูฝนเหมาะสมที่สุด วิธีเก็บ การลอกเปลือกต้น อย่าลอกออกรอบทั้งต้น ควรลอกออกจากส่วนกิ่งหรือแขนงย่อย


หรือใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบการลำเลียงอาหารของพืช และไม่ควรลอกส่วนลำต้นใหญ่ของต้น


2.3 ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด บางชนิดจะระบุช่วงเวลาที่เก็บ ซึ่งช่วงเวลานั้นใบมีสารสำคัญมากที่สุด เช่น เก็บใบแก่ หรือใบไม่อ่อนไม่แก่เกินไป (ใบเพสลาด) เป็นต้น วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด


2.4 ประเภทดอก โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด


2.5 ประเภทผลและเมล็ด โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่แล้ว แต่บางชนิดจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด





การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว


เมื่อเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรออกจากแปลงปลูกหรือต้นแล้ว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพื่อรักษาคุณภาพของพืชสมุนไพรให้ได้ผลดีที่สุดต่อการนำไปใช้ ทั้งนี้การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด รวมทั้งส่วนของพืชสมุนไพรที่จะนำไปใช้ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร มีวิธีปฏิบัติดังนี้


1. การทำความสะอาดและคัดแยกผลผลิตที่ได้มาตรฐาน


1.1 คัดแยกสิ่งปลอมปนออก เช่น หิน ดิน ทราย ส่วนของพืชที่ปะปน หรือสมุนไพรอื่นที่คล้ายคลึง กันปะปนมา


1.2 การตัดแต่ง เช่น ตัดรากฝอย ปอกเปลือกและหั่นซอยเป็นชิ้นในสมุนไพรที่มีเนื้อแข็ง แห้งยาก


1.3 คัดเลือกส่วนที่เน่าเสีย มีโรคแมลงออก ล้างทำความสะอาด ชำระสิ่งสกปรกและสิ่งที่ติดมากับพืชขณะทำการเก็บเกี่ยวออกให้หมด



2. การทำให้แห้ง


พืชสมุนไพรนอกจากจะใช้สดแล้ว ยังมีการนำมาทำให้แห้งเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาและการนำมาใช้ สมุนไพรที่มีความชื้นมากเกินไปจะทำให้เกิดเชื้อราและแบคทีเรีย และยังเร่งให้เกิดการสูญเสียสารสำคัญด้วย วิธีการทำแห้งโดยการตากแห้งหรืออบแห้ง จนเหลือความชื้นที่เหมาะแก่การเก็บรักษาซึ่งโดยทั่วไปควรมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 13


2.1 การตากแห้งพืชสมุนไพร ควรตากในภาชนะโปร่ง สะอาด ป้องกันฝุ่นละอองและตากในที่ร่ม การตากแดดควรมีลานตากยกจากพื้นดิน มีลหังคาพลาสติกคลุม ไม่ตากแดดโดยตรงและคำนึงถึงสุขอนามัยให้มาก


2.2 การอบแห้ง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้พืชสมุนไพรแห้ง ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิและระยะเวลาในการอบตกต่างกันไป ตามส่วนของพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดเวลาและได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี



3. การเก็บรักษาสมุนไพรแห้ง เมื่อสมุนไพรแห้งแล้ว การดูดความชื้น การเข้าทำลายของแมลง เชื้อราและแบคทีเรีย เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เร่งให้สมุนไพรเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้


3.1 ควรเก็บในที่สะอาด เย็น ไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทได้ดี และไม่ถูกแสงแดด หรือเก็บในห้องเย็น


3.2 เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ยวดแก้วสีชามีฝาปิดสนิท ถุงพลาสติกหรือถุงฟลอยด์


3.3 ไม่ควรเก็บไว้นาน โดยทั่วไป สมุนไพรไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 1 ปี เพราะจะสูญเสียสารสำคัญที่ต้องการไป


3.4 การเก็บรักษาควรระบุฉลากชนิดสมุนไพร รวมทั้งวันเก็บชัดเจน เพื่อป้องกันนำไปใช้ผิด



การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง


1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมาก และบางท้องถิ่นก็เรียกชื่อไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพรและรู้จักใช้ให้ถูกต้น


2. ใช้ให้ถูกส่วน สมุนไพรไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ ดอก เปลือกผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ส่วนใดใช้เป็นยาได้


3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไปกรักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตรายหรือเกิดพิษต่อร่างกายได้


4. ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องดองเหล้า บางชนิดใช้ต้ม จะต้องรู้จักนำมาใช้ให้ถูกต้อง


5. ใช้ให้ถูกโรค เช่น เมื่อท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน จะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น














ที่มา: http://www.oknation.net/blog/chawsaun/2007/09/11/entry-1